229 Views |
มะม่วง ถือว่าเป็นผลไม้ที่ตลาดนิยมกันมาก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่เกษตรกร นิยมปลูกกันมาก ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์อะไรก็ตาม
ขอบคุณภาพสวยๆจาก : phichitguide.com
สำหรับเกษตรกรที่ปลูกมะม่วง เขาก็อยากให้ผลมะม่วงของเขามีผลที่สมบูรณ์ ได้ลูกเยอะ มีน้ำหนัก มีคุณภาพ และไม่มีเชื้อโรค หรือศัตรูพืชมาทำลาย เพื่อจะได้จำหน่ายได้รายได้มากๆ
แต่อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง เกษตรกรก็มักจะประสบปัญหามากมาย ทั้งศัตรูพืชเอง เชื้อโรค หรือสภาพอากาศ น้ำท่วม น้ำแล้ง หรือปัญหาเรื่องรายได้ไม่คุ้มปุ๋ยทำให้เกษตรกร จำเป็นต้องเสียเงิน เสียแรง และเสียเวลาที่จะแก้ไขปัญหานี้
หรือบางครั้งต้องขาดทุนจากการลงทุนปุ๋ยไปเสียด้วยซ้ำ
ขอบคุณภาพสวยๆจาก : yangna.org
ซึ่งปัญหาที่อาจจะเกิดกับมะม่วงได้ ยกตัวอย่างเช่น
1. โรคเน่า เชื้อรา ใบด่าง ใบจุด - ส่วนมากแล้วปัญหานี้มักจะเกิดจาก
- ติดมากับพันธุ์เอง หรือเชื้อโรคมันก็มีอยู่ในดินอยู่แล้ว โดยเฉพาะแปลงที่มีการปลูกซ้ำๆ บ่อยๆ
- การใส่ปุ๋ยคอกที่ไม่ผ่านการหมัก เพราะปุ๋ยคอกเหล่านี้จะเป็นหลักสำคัญที่จะนำพาเชื้อรา เชื้อโรคมาสู่ดิน แม้การใส่ปุ๋ยคอกจะช่วยการปรับสภาพดิน แต่มันก็มาพร้อมกับหัวเชื้อโรคชั้นดีด้วย
ขอบคุณภาพสวยๆจาก : ngthai.com
- การใส่ปุ๋ยยูเรียเป็นระยะเวลาที่นาน ต้องยอมรับในทางการวิจัย พบว่า ปุ๋ยยูเรียที่ตกค้างอยู่ในดิน เป็นส่วนสำคัญทำให้ดินเปรี้ยว มีค่าเป็นกรดมากขึ้น (ลองเอาน้ำส้มคั้นสดผสมยูเรียแล้วชิมดู น้ำส้มที่กินจะมีความเปรี้ยวเพิ่มมากขึ้น) เหมาะกับการเติบโตของเชื้อโรค คนสมัยก่อนจึงต้องแก้ด้วยปูนขาว (ด่าง) ปูนขาวไม่ได้ทำให้เชื้อตาย แต่ทำให้ดินตัดกรดด้วยด่าง เชื้อโรคจะไม่แพร่เพิ่ม
ซึ่งการที่ดินมีค่าเป็นกรดก็จะส่งผลทำให้ดินละเอียดขึ้น แน่นขึ้นเหนียวขึ้น รากจึงเดินไม่ค่อยดี แก๊สในดินก็ระบายออกได้ยาก ไม่โปร่ง ส่งผลทำให้ดินแฉะนาน เป็นกรด ซึ่งต้นไม้ส่วนมากไม่ชอบดินแฉะ ถ้าดินแน่นไป ก็หายใจไม่ออก นอกจากนี้ดินเป็นกรดก็ยังเป็นแหล่งเพาะเชื้อขยายพันธุ์ได้ดีของเชื้อโรคอีกด้วย
ขอบคุณภาพสวยๆจาก : agrinewsthai.com
2. เพลี้ย แมลง เหตุการณ์นี้มักจะเกิดในช่วงต้นไม้อ่อนแอ หรือใส่ปุ๋ยยูเรียจนต้นไม้บ้าใบ ใบยาว เขียว แต่ใบบาง แมลงชอบเพราะกินง่าย ใบตกโค้งปิดเป็นโพรงที่อยู่อาศัยของแมลงได้ดีเลย ถ้าเกิดอาการนี้แล้วคงต้องแก้ตามอาการ แล้วงวดหน้าต้องลองใหม่
ขอบคุณภาพสวยๆจาก : prachachat.net
ปุ๋ยเคมีมีข้อดีที่ธาตุอาหารสูงจึงใช้ได้จำนวนน้อยและออกฤทธิ์ไว แต่ก็มีข้อเสียที่สูญเสียง่ายในอัตราสูง(30-50%) ปุ๋ยบางชนิดอาจสูญเสียได้มากถึง80% อัตราที่แนะนำให้ใช้จึงมักต้องใส่เผื่อไว้ แต่การใส่ปุ๋ยเผื่อสูญเสียจะเป็นทั้งภาระทุนและเพิ่มความเค็มกับดินและเป็นปัญหากับรากพืช(burning effect) อีกทั้งอาจสะสมความเป็นกรดและตกตะกอนทำให้ดินแข็งดานด้วย ยกเว้นดินจะมีอินทรีย์วัตถุมากพอจึงป้องกันปัญหาข้างต้นได้
การใช้ปุ๋ยเคมีที่ดีคือการใส่ปุ๋ยเท่าที่พืชจะใช้และป้องกันมิให้สูญเสียไปได้ แต่ปัจจุบันเรายากที่จะไปเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดินให้มากพอได้ จึงต้องใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติดูดซับประจุปุ๋ยผสมร่วมกับปุ๋ยเคมีในเม็ดเดียว เช่น ทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์เคมีแบบคอมปาวด์ แต่หากจะแค่ใช้ปุ๋ยเคมีผสมเม็ดแยกกันก็ต้องใช้สารที่มีประจุลบ(CECสูง)จึงจะช่วยได้ เช่น สารฮิวมิกซึ่งถือเป็นอินทรีย์วัตถุคุณภาพสูง
ปัจจุบันในตลาดมีสินค้าสารปรับปรุงดิน(วัสดุปูน)เม็ดสีขาวมาแนะนำใช้ผสมปุ๋ยเคมี แต่เนื่องจากไม่มีอินทรีย์วัตถุชนิดใดอยู่เลย จึงขาดคุณสมบัติช่วยดูดซับ และไม่เพียงพอที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยเคมีได้
บริษัทเอสทีฯจึงพัฒนา”สารอะมิโนฮิวมิก” ชนิดเม็ด เพื่อใช้ผสมปุ๋ยเคมีแบบเม็ด ใช้ในนาข้าว ผักและพืชไร่ สารฮิวแคลพลัสมีกรดฮิวมิกอยู่และเป็นด่างอ่อน(มีประจุลบหรือCECสูง) เพื่อใช้จับธาตุอาหารที่ละลายจากปุ๋ยเคมีไว้มิให้สูญเสียไป และทำให้ปุ๋ยเคมีเกิดประโยชน์เต็มที่กับพืช อีกทั้งยังช่วยปรับปรุงดินช่วยลดพิษความเป็นกรดของปุ๋ยเคมีได้ด้วย นอกจากนี้สารฮิวมิกยังมีส่วนช่วยสร้างรากพืชและทำให้ดินอุ้มน้ำได้ดีด้วย